2510
ก่อตั้ง ในปี พ.ศ.
สิงห์เจ้าท่า
ฉายา
32
ผู้เล่นทีมปัจจุบัน (คน)
6,250
ความจุสนาม เหย้า (คน)
สโมสร ก่อตั้งเมื่อปี 2510 ในชื่อ สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยเริ่มต้นจากพนักงานการท่าเรือฯ 3 ท่าน คือ อำพล สิงห์สุมาลี, สง่า บังเกิดลาภ และ พี่เดียร์ (นามสมมุติ) โดยในช่วงแรก ส่งทีมร่วมแข่งขันในฟุตบอลระดับเยาวชน และถ้วยน้อย ก่อนที่ในเวลาต่อมา พลตรี ประจวบ สุนทรางกูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ในขณะนั้น) ได้ให้ความสำคัญ และเข้าร่วมดูแลสโมสร โดยมีโค้ชในยุคแรก คือ ทวิช นรเดชานนท์ และ ไพสิต คชเสนี[1]
โดยเริ่มต้นส่งเข้าร่วมการแข่งขัน ถ้วยพระราชทาน ง. โดยชนะเลิศการแข่งขัน 3 สมัยติดต่อกันในปี 2510 – 2512 ทำให้ในปี 2513 จึงได้รับเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน ถ้วยพระราชทาน ก. และได้ตำแหน่งชนะเลิศ ตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้าร่วมการแข่งขัน[2]
ต่อมาในช่วงปี 2519 ถึง 2522 นับว่าเป็นช่วงที่ดีที่สุดของสโมสร โดยมี น.อ.ลาโภ อิศรางกูร ณ อยุธยา (ร.น.) ซึ่งเป็นผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในช่วงนั้นเป็นผู้ให้การสนับสนุนทีมท่าเรืออย่างเต็มกำลัง จนสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ถ้วยพระราชทาน ก. ได้ 3 สมัย และชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานควีนสคัพ ได้ในปี 2521-2523 (โดยในปี 2520 และ 2522 ได้ตำแหน่งชนะเลิศร่วมกัน)[2] ขณะเดียวกันในการแข่งขันฟุตบอลกีฬาท่าเรือระหว่างประเทศ สโมสรก็ยังสามารถทำผลงานได้ตำแหน่งชนะเลิศ การแข่งขันฟุตบอลกีฬาท่าเรืออาเซียน 4 สมัยอีกด้วย
ต่อมาในปี 2534 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีนโยบายในการที่จะจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ โดยให้สโมสรที่ลงทำการแข่งขันในระดับ ถ้วยพระราชทาน ก. เป็นทีมยืนในการแข่งขัน โดย สโมสร ต้องยกเลิกการส่งสโมสรเข้าร่วมแข่งขันใน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ทุกประเภท เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลลีกอาชีพในขณะนั้น (การแข่งขัน ไทยแลนด์เซมิโปรลีก)